วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2559

มหาลัยที่เปิดสอน คณะโลจิตติกส์

สถาบันที่เปิดสอน

สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ วิทยาลัยการขนส่งและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา
สาขาการจัดการลอจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยศรีปทุม
สาขาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สาขาวิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศโลจิสติกส์และการขนส่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สาขาวิชาการจัดการด้านโลจิสติกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเดินเรือ วิทยาลัยพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยราชมงคลตะวันออก
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยรังสิต
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเกริก
สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
สาขาวิชาโลจิสติกส์ วิทยาลัยนครราชสีมา
หมวดวิชาวิศวกรรมลอจิสติกส์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
สาขาวิศวกรรมโลจีสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ บัณฑิตวิทยาลัย
การจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
สาขาเทคโนโลยีการจัดการจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
หลักสูตรสำหรับคนประจำเรือ-ฝ่ายเดินเรือ ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีโรงเรียนการเดินเรือบาร์เธอร์ (BIMS)
สาขาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

โลจิสติกส์

  โลจิสติกส์ หรือ ลอจิสติกส์ (อังกฤษ: logistics) เป็นระบบการจัดการการส่งสินค้า ข้อมูล และทรัพยากรอย่างอื่นจากจุดต้นทางไปยังจุดบริโภคตามความต้องการของลูกค้า โลจิสติกส์เกี่ยวข้องกับการผสมผสานของ ข้อมูล การขนส่ง การบริหารวัสดุคงคลัง การจัดการวัตถุดิบ การบรรจุหีบห่อ โลจิสติกส์เป็นช่องทางหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานที่เพิ่มมูลค่าของการใช้ประโยชน์ของเวลาและสถานที่

ที่มาของคำ

คำว่า โลจิสติกส์ (logistics) มาจากภาษาฝรั่งเศสคำว่า logistique ที่มีรากศัพท์คำว่า โลเชร์ (loger) ที่หมายถึงการเก็บ โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากการขนส่งสินค้าทางการทหาร ในการส่งกำลังบำรุง ทั้งเสบียง อาวุธ กำลังพล เพื่อสนับสนุนการรบ หรือ กิจกรรมที่มีการเคลื่อนย้าย จัดเก็บ จากอีกที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง อาจมีการจัดเก็บระยะเวลานานหรือระยะเวลาชั่วคราว เช่น เอกสาร สินค้าสำเร็จรูป วัตถุดิบ และอื่น ๆ

แนวคิด

โลจิสติกส์ มีศาสตร์แขนงต่างๆที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ศาสตร์ โดยจะมีมุมมองที่ต่างๆกัน ดังนี้วิศวกรรมศาสตร์ ซึ่ง ในส่วนวิศวกรรมศาสตร์นี้จะมีสาขาที่เกี่ยวข้อง คือ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering) และ สาขาวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering) โดยสาขานี้จะคำนึงถึงกิจกรรมในการเคลื่อนย้ายสินค้าเป็นหลัก เพื่อให้การขนส่งสินค้านั้น มีประสิทธิภาพสูงสุด ใช้ทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิง หรือ เวลาในการขนส่งให้น้อยที่สุดบริหารธุรกิจ ซึ่ง สาขานี้จะมองในเรื่อง ของการขนส่งระหว่างประเทศโดยจะพิจารณา ภาษี กฎหมาย ค่าระวาง นโยบายหรือยุทธศาสตร์ทางด้านโลจิสติกส์ของแต่ละประเทศ และ การค้าระหว่างประเทศเพื่อนำมาประกอบ การวางแผนการขนส่งสินค้าไปยังประเทศต่างๆการจัดการสารสนเทศ ซึ่ง จะศึกษาในส่วนของ software และ hardware นำมาควบรวมกันเป็น solution หรือ บริการ ที่จะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมทาง โลจิสติกส์มีความคล่องตัวมากขึ้น

คำนิยาม

พจนานุกรมของเว็บสเตอร์ (Webster)ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้ :“สาขาวิทยาการและการปฏิบัติการทางการทหารที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดหา การจัดส่ง การบำรุงรักษาอุปกรณ์ และการรักษาพยาบาลบุคลากร พร้อมทั้งการจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกและการบริการต่างๆ ให้ รวมถึงเรื่องอื่นๆ ที่สัมพันธ์กันด้วย”ในธุรกิจ นิยมใช้คำนี้กันตั้งแต่ช่วงสงครามอ่าว (Gulf War) เมื่อปี ค.ศ. 1991 โดยเฉพาะตั้งแต่ที่มีการตีพิมพ์คำให้สัมภาษณ์ของ William Pagonis นายพลผู้รับผิดชอบด้านลอจิสติกส์ในสงครามครั้งนั้นในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1992 สภาการจัดการลอจิสติกส์ (Council of Logistics Management : CLM) ได้ให้คำจำกัดความของคำว่าลอจิสติกส์สำหรับในธุรกิจซึ่งใช้กันโดยทั่วไป ไว้ดังนี้ :“ลอจิสติกส์ คือ ส่วนหนึ่งของกระบวนการโซ่อุปทานซึ่งจะวางแผน ดำเนินการ และควบคุมการไหลไปข้างหน้าและการไหลย้อนกลับและการจัดเก็บสินค้า การบริการ และสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกันระหว่างจุดกำเนิดและจุดบริโภคอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า”William Pagonis ให้คำจำกัดความไว้ว่าเป็น“การบูรณาการการขนส่ง การจัดหา การจัดเก็บในคลังสินค้า การบำรุงรักษา การจัดซื้อจัดหา การทำสัญญาและการทำงานแบบอัตโนมัติ (Automation) ไว้ในหน้าที่เดียว ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่าจะไม่มีการให้ความสำคัญกับประเด็นปลีกย่อยมากกว่าเป้าหมายรวม (Suboptimization) ไม่ว่าในส่วนใด เพื่อช่วยให้สามารถบรรลุเป้าหมายโดยรวมหรือกลยุทธ์ วัตถุประสงค์ หรือพันธกิจที่เฉพาะเจาะจงได้”Martin Van Creveld ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า “ลอจิสติกส์” ซึ่งเป็นคำศัพท์ของทางทหารนั้นว่าเป็น“ศิลปะแห่งการเคลื่อนย้ายกองทัพและการจัดส่งยุทโธปกรณ์และเสบียงอาหารให้แก่กองทัพ”คำนิยามจาก Council of Supply Chain Management Professional (CSCMP)“การจัดการลอจิสติกส์ เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการโซ่อุปทานซึ่งวางแผน นำไปปฏิบัติ และควบคุมการไหลทั้งไปและกลับอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพของสินค้า บริการและสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ในระหว่างจุดเริ่มต้นและจุดที่มีการบริโภค เพื่อที่จะให้ได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า”

กิจกรรมที่สำคัญของโลจิสติกส์

Order management/Customer service คือ การจัดการการรับหรือส่งสินค้า และ การบริการลูกค้าPackaging คือ การคัดเลือกบรรจุภัณฑ์เพื่อมาใช้บรรจุสินค้าMaterial handling คือ การขนถ่ายวัสดุภายในโรงงาน หรือ ในคลังสินค้าTransportations/Mode of transportations (Domestic & International) คือ การขนส่งสินค้าระหว่างสถานที่ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศWarehouse management (Layout, locations, control technology/equipment, facility) คือ การจัดการคลังสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการวางผังสินค้า หรือ สถานที่ ที่จะตั้งคลังสินค้าInventory control systems (Qty)/ material management คือ ระบบในการบริหารสินค้าคงคลัง เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนหรือกระจายสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพSupplier management/material management คือ การบริหารจัดการผู้ผลิตวัตถุดิบให้เรา (Supplier) เพื่อให้ได้ วัตถุดิบที่มีคุณภาพ และ เพียงพอต่อความต้องการในเวลาที่เหมาะสมDistribution center/distribution hub คือ การกำหนดแหล่งที่ตั้งในการกระจายสินค้า เพื่อให้เกิดการกระจายสินค้าได้อย่างทั่วถึงManufacturing/production control คือ ระบบควบคุมการผลิต

โลจิสติกส์ทางธุรกิจ

จุดเชื่อมต่อของเครือข่ายกระจายสินค้า

จุดเชื่อมต่อของเครือข่ายกระจายสินค้า ประกอบไปด้วยโรงงานที่ทำการผลิตหรือประกอบผลิตภัณฑ์คลังพัสดุหรือที่เก็บสินค้า เป็นความคิดเกี่ยวกับคลังสินค้าแบบมาตรฐานเพื่อที่จะเก็บสินค้า (สินค้าคงคลังระดับสูง)ศูนย์กระจายสินค้า ใช้สำหรับกระบวนการสั่งสินค้าและการเติมเต็มคำสั่งซื้อ (สินค้าคงคลังระดับรองลงมา) และยังใช้สำหรับรับสินค้าที่ถูกตีกลับจากลูกค้าด้วยจุดโอนย้ายสินค้า เป็นจุดที่มีกิจกรรมการเปลี่ยนถ่ายสินค้า ซึ่งอาจจะมีการประกอบสินค้าใหม่ตามตารางการส่งสินค้า (เคลื่อนย้ายสินค้าเท่านั้น)ร้านขายของชำ ซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ หรือ ร้านค้าปลีกลูกโซ่ สหกรณ์ผู้บริโภค เป็นจุดที่รวมกำลังซื้อของผู้บริโภค และบริษัทย่อยส่วนใหญ่มีบริษัทอื่นเป็นเจ้าของและแฟรนไชส์ เป็นเจ้าของจุดขายแม้ว่าจะใช้แบรนด์ของบริษัทอื่นทั้งนี้อาจมีตัวกลางในการดำเนินงานสำหรับตัวแทนระหว่างจุดเชื่อมต่อ เช่นตัวแทนขายหรือนายหน้า

การจัดกลุ่มเชิงโลจิสติกส์และตัวชี้วัด

การจัดกลุ่มเชิงโลจิสติกส์ คือ กลุ่มของผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะพื้นฐานร่วมกัน มีน้ำหนักและปริมาตร ต้องการการจัดเก็บทางกายภาพเฉพาะ (อุณหภูมิ, การแผ่รังสี ฯ) ต้องได้รับการจัดการจัดเก็บ ความถี่ของการสั่งซื้อ ขนาดของบรรจุภัณฑ์ และอื่น ๆ ซึ่งตัววัดเหล่านี้จะถูกนำมาใช้ในแต่ละบริษัทเพื่อจัดระเบียบตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันตัวชี้วัดทางกายภาพ ถูกนำมาใช้เพื่อประเมินระบบสินค้าคงคลัง รวมถึงความจุของการสต๊อคสินค้า สมรรถนะการเลือก ใช้การวัดปริมาตร ใช้แบบผิวเผิน ความจุในการขนส่ง และการใช้ความจุในการขนส่งตัดชี้วัดทางการเงิน หมายรวมถึง ค่าใช้จ่ายจากการใช้พื้นที่ในการถือครองสินค้า (อาคารสถานที่ ชั้นวางและบริการ) และค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้า (ค่าแรง เครื่องจักรในการจัดเก็บ พลังงานและค่าบำรุงรักษา)สำหรับตัวชี้วัดอื่น ๆ อาจจะแสดงในรูปแบบของทั้งภายภาพและการเงิน เช่น มาตรฐานการหมุนเวียนสินค้าคงคลัง

กระบวนการจัดเก็บและสั่งซื้อ

การขนถ่ายหน่วยวัสดุ เป็นการรวมกันของผลิตภัณฑ์แต่ละรายการที่ถูกเคลื่อนย้ายด้วยระบบการขนถ่ายวัสดุ ซึ่งโดยปกติจะมีหน่วยเป็นพาเลทระบบการขนถ่าย ประกอบด้วยเครื่องมือหลายอย่าง ได้แก่ trans-pallet handlers, counterweight handler, retractable mast handler, bilateral handlers, trilateral handlers, AGV and stacker handlers. ระบบการจัดเก็บ ได้แก่ การเก็บสินค้าแบบกองบนพื้น เก็บบนชั้นวาง (ทั้งแบบเคลื่อนย้ายได้และแบบเคลื่อนย้ายไม่ได้) เก็บบนชั้นวางที่มีขนาดยาวและชั้นวางแบบลาดเอียง ธนายุทร

การวัดประสิทธิภาพที่เกิดจากการดำเนินการในกิจกรรมโลจิสติกส์แก้ไข

ต้นทุนที่ใช้ในกิจกรรมโลจิสติกส์การตอบสนองอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็น อัตราการหมุนเวียนสินค้า รอบเวลาในการจัดส่งสินค้า เป็นต้นความพึงพอใจของลูกค้าความพึงพอใจของทีมงาน